วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

องค์ประกอบการประเมินศักยภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย


      องค์ประกอบการประเมินศักยภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย
           ผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสถานศึกษาสายมัธยมศึกษา

1. วิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ  ( 15 คะแนน )

ไดูแลภารกิจ  พิชิตปัญหา  พัฒนาตามนโยบาย
                              มุ่งหมายพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพเต็มตามศักยภาพไ

1.1 บริหารโดยยึดหลักนิติบุคคล  ยึดหลักธรรมมาภิบาล  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (5 คะแนน)
           โรงเรียนจัดเป็นสถาบันที่มีความสำคัญอันดับสองรองจากสถาบันครอบครัว  โรงเรียนจึงเป็นแหล่งให้การศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ  รู้จักปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  รู้จักแก้ปัญหา  รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีคุณธรรม  จริยธรรมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กก็คือ ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้นคุณภาพของโรงเรียนจึงอยู่ที่ความสามารถของผู้บริหารและความสามารถของผู้บริหารวัดได้จากประสิทธิผลของงานและความพึงพอใจของผู้ร่วมงาน  
ในส่วนของการบริหารงานของโรงเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น  ผู้รายงานได้ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม   โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร  ครู  ผู้ปกครอง นักเรียน รวมไปถึงชุมชนต่างก็มีบทบาทในการ  ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจ เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนมีความสอดคล้องและสนองต่อความต้องการของชุมชนมากที่สุด ฉะนั้นในการบริหารงานให้ได้ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดนั้นผู้รายงานได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1.1.1          บริหารงานโดยเน้นการกำหนดนโยบายและปฏิบัติงานตามนโยบายอย่างเป็นระบบดังนี้
                1)  ศึกษาทำความเข้าใจนโยบายและแผนงานอย่างละเอียด
                2)  ศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของโรงเรียน
               3)  วิเคราะห์สภาพปัญหา
               4)  เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา
               5)  จัดทำแผนงาน/โครงการ  เพื่อแก้ปัญหา
         6)  ดำเนินการตามแผนงาน
               7)  กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและมอบหมายงานให้ดำเนินการ
               8)  มีการนิเทศติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
               9)  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ

แผนภูมิที่  1   แสดงการนำนโยบายแก้ปัญหาสู่การปฏิบัติ





1.1.2  บริหารงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลในการบริหารงาน

                   ในการบริหารงานของโรงเรียนนั้น  บริหารงานโดยใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจในการวางแผนการดำเนินงานของโรงเรียน   มีการจัดระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสนองตอบต่อความต้องการ  โดยใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการและจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล  ข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาได้อย่างแท้จริงต้องเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์  มีความเที่ยงตรง  ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญ  ซึ่งต้องยึดหลักสำคัญดังนี้
1)  มีความเป็นปัจจุบัน  (Timeliness)  ทันสมัย  ทันต่อเหตุการณ์
2)  ตรงกับความต้องการ  (Relevancy)  และความจำเป็นต้องใช้
3)  สมบูรณ์ครบถ้วน  (Completeness)  ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งขาดไป
4)  มีความถูกต้อง  แม่นยำ  (Accuracy)  ชัดเจน  เชื่อถือได้
5)  กะทัดรัด  (Conciseness)  อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

1.1.3  บริหารงานโดยเน้นการมีส่วนร่วม
                   ในส่วนของการบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น  โรงเรียนได้ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม   โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร  ครู  ผู้ปกครอง นักเรียน  และชุมชน ต่างก็มีบทบาทในการ ร่วมคิด  ร่วมทำ ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจ ในการบริหารงานโดยมุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมนั้น  ผู้รายงานได้นำนวัตกรรมการบริหารแบบ TipCo ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบริหารที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากที่โรงเรียนวัดพระเงิน  โรงเรียนราษฎร์นิยม  โรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี

1.1.4  บริหารงานโดยเน้นการวางแผน  การจัดระบบงาน  การมอบหมายงาน  การวางแผน         
                   การวางแผนเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานของผู้บริหารและการดำเนินงานของโรงเรียนจะบรรลุตามเป้าหมายได้   จะต้องขึ้นอยู่กับการมอบหมายงานตามศักยภาพของบุคลากรและติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้การปฏิบัติงานของโรงเรียนสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย ผู้รายงานได้ใช้ความรู้ความสามารถในการวางแผนงาน  การจัดระบบงาน  การมอบหมายงานและการติดตามผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน  ดังต่อไปนี้
                   1)  วิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นในการดำเนินการ
                   2)  วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา
                   3)  เลือกทางเลือกที่เหมาะสมและวางแผนการดำเนินงาน
                   4)  ดำเนินการตามแผน / โครงการ
                   5)  นิเทศ  ติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงาน
                   6)  สรุปผล  และรายงาน

ผลการวางแผนปฏิบัติงาน
                   1) โรงเรียนมีการบริหารงานที่เป็นระบบและมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง
                   2) คณะครูในโรงเรียนมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน
                   3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองมีโอกาสเสนอความคิดเห็นที่เป็นความต้องการของท้องถิ่น
                   4) นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นพลเมืองดีและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
                             5) นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ได้รับการตอบสนองให้มีการลงสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนอย่างแท้จริง
 การมอบหมายงาน
                   ในการดำเนินงานในโรงเรียนนั้น  มีงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นจำนวนมาก  ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนไม่สามารถที่จะทำเองได้ทั้งหมด  จำเป็นต้องมีการมอบหมายงานให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  คงเหลือไว้แต่งานที่สำคัญๆ เช่น งานนโยบาย  การตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ  งานลับเฉพาะ  งานตามที่กฎหมายกำหนดและงานที่มีความสำคัญเป็นพิเศษในการมอบหมายงานโรงเรียนดำเนินการดังนี้                                                                                                                                                                       
1) การมอบหมายงานได้ยึดหลักสำคัญดังนี้
(1) มอบหมายงานให้ตรงกับความรู้   ความสามารถ  ความถนัด   ความรับผิดชอบและความเต็มใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
(2) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อได้มาซึ่งผลงานที่มีระดับสูงทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
(3) กระจายงานให้ทั่วถึง  ชี้แจงแนวปฏิบัติให้ผู้รับมอบงานเข้าใจก่อนการปฏิบัติงาน งานที่มอบไปแล้วให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและดูแลให้บุคลากรมีความพึงพอใจและมีความสุขในการทำงาน
(4) การมอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันต้องมอบหมายให้กับบุคคลที่มีความพอใจที่จะทำงานด้วยกันซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ  อันจะส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและจะทำให้การทำงานดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วมีความคล่องตัวยืดหยุ่นมากขึ้น
 ผลการมอบหมายงาน 
                   การแบ่งงานและมอบหมายงานให้ผู้ร่วมงานนำไปปฏิบัติ  เป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนควรกระทำอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการกระจายภาระงาน  ภาระหน้าที่และทำให้งานมีประสิทธิภาพดังนี้
      1)  ผลต่อภาพรวม
(1)  ประสิทธิภาพของงานเพิ่มขึ้น
(2)  ทำให้คนไม่ล้นงาน  งานไม่ล้นคน
(3)  ปัญหาการปฏิบัติซ้ำซ้อนและการก้าวก่ายงานเกิดขึ้นน้อยที่สุด
(4)  เป็นการใช้คนตามความรู้  ความสามารถ  ความสนใจ  ความถนัดและประสบการณ์
      2) ผลต่อผู้บริหาร
(1) เป็นการกระจายภาระหน้าที่ให้ผู้ร่วมงานรับผิดชอบ  ผู้บริหารจึงมีเวลาปฏิบัติงานอื่นที่
     สำคัญ ๆ  ได้
(2) ได้ทราบความสามารถของผู้ร่วมงานแต่ละคน
(3) ได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
(4) เป็นการกำหนดงานความรับผิดชอบที่ชัดเจน  ทำให้สะดวกแก่การติดตามและนิเทศงาน
      3) ผลต่อผู้ร่วมงาน
(1) คณะครู ภารโรง เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
(2) คณะครู  ภารโรง  ได้มีโอกาสแสดงความรู้  ความสามารถได้เต็มที่
(3) คณะครู ภารโรง ได้มีโอกาสฝึกการทำงาน  ฝึกประสบการณ์
(4) คณะครู ภารโรง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
1.1.5  บริหารงานโดยเน้นการควบคุม   กำกับ   ติดตามการปฏิบัติงาน
      1) การกำหนดผู้รับผิดชอบการควบคุม  กำกับ  ติดตาม 
(1)  หัวหน้าโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ
(2)  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
(3)  ผู้อำนวยการโรงเรียน
      2) วิธีการควบคุมกำกับติดตาม
                             โรงเรียนให้ความสำคัญกับการควบคุม  กำกับ  ติดตามการปฏิบัติงานที่มอบหมายอย่างเป็นระบบซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานที่สำคัญยิ่ง ซึ่งมีวิธีดำเนินงานดังนี้
(1)  จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน  ให้สอดคล้องกับแผนงาน/โครงการ
(2)  จัดทำแผนควบคุม  กำกับ  ติดตาม  อย่างเป็นระบบ
(3)  กำหนดกิจกรรมที่ใช้ในการควบคุม  กำกับ  ติดตามไว้อย่างชัดเจน
(4)  กำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ควบคุม  กำกับ  ติดตาม  ไว้อย่าง  ชัดเจนเป็นลาย                 
       ลักษณ์อักษร
(5)  กำหนดสายงานในการควบคุม  กำกับ  ติดตาม ไว้ทั้งระบบ
(6)  กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการควบคุม  กำกับ  ติดตาม  และแบบรายงานผล                  
       การปฏิบัติงานไว้อย่างครบถ้วน  โดยสอดคล้องกับจุดประสงค์ความเป็นไปได้ใน               
       ทางปฏิบัติและความเหมาะสม
 ผลการดำเนินการ
1)            ผู้รับผิดชอบการควบคุม  กำกับ  ติดตาม  ได้ปฏิบัติตามปฏิทินปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง
 ครบถ้วน
2)  ภาระงานของโรงเรียนทุกงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

     1.2 จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาที่ขอย้าย  (10  คะแนน )
            - โดยกำหนดเป้าหมาย  กระบวนการ  ผลสัมฤทธิ์
ความรู้ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา  ( 15 คะแนน ) 
                2.1 การพัฒนาตนเอง     ( 5  คะแนน )
                          ผู้รายงานได้พัฒนาตนเองอยู่เป็นประจำและต่อเนื่องด้วยการศึกษาเอกสาร ทางวิชาการ  บทความ   ข่าวสารจากสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ  อยู่เป็นประจำและเข้ารับการอบรม  ประชุมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ตามสถานที่ต่าง ๆ   ทั้งที่ทางราชการและเอกชนจัดขึ้นดังนี้
                         - กำลังศึกษาต่อดุษฎีบัณฑิต  สาขาบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยศิลปากร  (ปริญญาเอก)
                 - เข้ารับการอบรม  สัมมนา  จำนวน    20    ครั้ง  
                 - ศึกษาดูงาน                    จำนวน     8    ครั้ง 
                  2.2       ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา  (  5 คะแนน )
ในการบริหารงานในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี ได้ใช้ยุทธศาสตร์   4  ยุทธศาสตร์ก้าวสู่ความเป็นเลิศ  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                1)  ยุทธศาสตร์การใช้ภาวะผู้นำ
                   ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นแกนหลักในการบริหารงานและดำเนินการร่วมกับแกนนำ                    อื่น ๆ  เพื่อช่วยผลักดัน  ส่งเสริม  สนับสนุนและประสานให้บุคลากรภายในสถานศึกษาและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องภายนอกร่วมกันทำงานเป็นทีม  เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาให้เป็นระบบครบวงจร   ดังนั้นภาวะผู้นำและความตระหนักของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบและเงื่อนไขสำคัญที่จะนำสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จ
                   ผู้รายงานได้ใช้ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยในการบริหารงาน   มีความเชื่อมั่นและเคารพในความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น  กล้าตัดสินใจ  เป็นผู้รู้จักใช้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้ประโยชน์มากที่สุดและมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
                                2)  ยุทธศาสตร์การทำงานเป็นทีม
                   การพัฒนาการศึกษาเป็นเรื่องของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา  มิใช่เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะและมิใช่เป็นการดำเนินงานแบบต่างคนต่างทำ  แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและมีความเชื่อมโยงระหว่างภารกิจต่าง ๆ  ของสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่ต้องการ โดยจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย  วางแผนการทำงาน   แล้วช่วยกันทำและพัฒนาปรับปรุง  โดยเรียนรู้แลกเปลี่ยน  ปรึกษาหารือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  การทำงานเป็นทีมจะทำให้บุคลากรรู้สึกอบอุ่น  สบายใจ  เพราะมีเพื่อนร่วมทาง  ไม่โดดเดี่ยว  ถ้าสถานศึกษามีการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง  ก็จะทำให้การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนต่อเนื่องและยั่งยืน  ถึงแม้จะเปลี่ยนผู้บริหารสถานศึกษา  หรือบุคลากรบางคน  ก็ยังดำเนินการต่อไปได้เพราะทีมงานยังอยู่
                   ในการทำงานเป็นทีมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงเรียนประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
                                                         (1)  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรในโรงเรียน
                                                         (2)  คณะกรรมการมูลนิธิ   คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง  สมาคมศิษย์เก่า
                                                         (3)  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่นอกเหนือจากบุคคลในข้อ  1)  และ  2) 
                                                         (4)  ครู   การบริหารงานของโรงเรียนได้ดำเนินการบริหารงานแบบองค์คณะบุคคลที่เรียกว่าคณะกรรมการบริหารโรงเรียนซึ่งประกอบไปด้วยผู้อำนวยการ โรงเรียน รองผู้อำนวยการ  หัวหน้างานและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  กลุ่มสาระ 
                                                         (5) นักเรียน  มีคณะกรรมการในรูปของสภานักเรียน   
   3) ยุทธศาสตร์  เทคนิคการประสานใจคนเพื่อผลของงาน
                                (1) แนวคิดและความเชื่อในการบริหารจัดการศึกษา  ผู้รายงานมีแนวคิดและความเชื่อในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนดังนี้  
-  การบริหารจัดการที่ดีเปรียบเสมือนการเตรียมดินและปุ๋ยเพื่อให้เด็กเติบโตเป็น               
ต้นกล้าที่สมบูรณ์
-  บุคลากรทุกคนมีศักยภาพ  ที่จะพัฒนาตนเองและหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายได้ถ้ามีขวัญและกำลังใจเพียงพอ
-  การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน  เปรียบเสมือนการสร้างพลัง แอบแฝงในการทำงาน
(2)  หลักในการประสานใจ
                                ในการประสานใจคนเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานผู้รายงานมีหลักในการประสานใจคนดังนี้
- สร้างความเชื่อถือโดยทำตัวเป็นแบบอย่างในการการปฏิบัติตัว  ปฏิบัติงานและการพัฒนาตนเอง          
- ให้เกียรติ และยกย่องชมเชยผู้ร่วมงานด้วยความจริงใจ
- มีความเป็นกันเอง  เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- คิดทุกคำที่พูด  แต่จะไม่พูดทุกคำที่คิด
- สร้างอารมณ์ขันเพื่อคลายความตึงเครียดและสามารถควบคุมอารมณ์ได้
- ให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ร่วมงานอย่างสม่ำเสมอ
                      ต้องยอมรับว่าแต่ละคนมีแรงจูงใจในการทำงานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นผู้รายงานจะพยายามวิเคราะห์ดูว่าอะไรเป็นแรงจูงใจในการทำงานของครู  แล้วให้ความสนใจกับสิ่งนั้นเพื่อเป็นการจูงใจให้เขาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของโรงเรียนให้ได้มากที่สุด
                                       4)  ยุทธศาสตร์การวางแผนและการกำกับดูแล
                                การพัฒนาการศึกษาจำเป็นจะต้องมีการวางแผนและการกำกับ ดูแล ที่เป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นก่อนที่จะมีการวางแผนได้จัดให้มีการประชุมตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ  ประสานความร่วมมือ   รายงานความก้าวหน้าของงานที่ทำไปแล้ว  และพัฒนางานที่จะทำต่อไป  ซึ่งในการวางแผนได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
                                                (1)  วิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นในการดำเนินการ
                                                (2)  วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา
                                                (3)  เลือกทางเลือกที่เหมาะสมและวางแผนการดำเนินงาน
                                                (4)  ดำเนินการตามแผน / โครงการ
                                                (5)  นิเทศ  ติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงาน
                                                (6)  สรุปผล  และรายงาน



การบริหารงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ

นวัตกรรมการบริหารงานแบบ TipCo
        
ความเป็นมา

                   การบริหารงานแบบ TIPCo เป็นการบริหารงานที่ได้นำแนวคิดและหลักการของการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based  Management : SBM)  การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management :TQM) ระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle : Q.C.C. ) และการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ (Whole School Approach : WSA) มาประยุกต์หลอมรวมเป็นการบริหารงาน  แบบ  TipCo

 หลักการและแนวคิด

                   การบริหารงานแบบ  TipCo เป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล โดยบูรณาการนโยบาย   ต้นสังกัด  ภารกิจ  กิจกรรม  ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของโรงเรียน  เน้นการทำงานเป็นทีม  เน้นการเข้าใจ  การยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)  ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน  และเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร (Dynamic) มีเป้าหมายนักเรียนสำคัญที่สุด โดยมีหลักในการทำงานร่วมกันว่าร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจ

องค์ประกอบของการบริหารงานแบบ  TipCo

           T  ย่อมาจากคำว่า  Teamwork  หมายถึง  การทำงานเป็นทีมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน 
           I   ย่อมาจากคำว่า   Integration   แปลว่า   การบูรณาการ  ซึ่งหมายถึง  การบูรณาการนโยบายต้นสังกัด  ภารกิจ  กิจกรรม  ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและแนวคิดในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการของโรงเรียนให้ได้มากที่สุด
           P  ย่อมาจากคำว่า  Participation  หมายถึง  การมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมทุกขั้นตอนการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)
           Co  ย่อมาจากคำว่า  Continuous Improvement   แปลว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  หมายถึง  มีการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร (Dynamic) โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)  เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้แก่  การวางแผน  การปฏิบัติ  การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านต่าง ๆ  ของโรงเรียน
       
ขั้นตอนการบริหารงานแบบ TIPCo
         
      1. วิเคราะห์ปัญหาและประเมินความต้องการจำเป็น
         2. วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา
         3. จัดทำแผนปฏิบัติการ   
         4. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
     5. นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
          6. สรุปผลและรายงานคุณภาพการจัดการศึกษา

ความสำเร็จที่เกิดจากการบริหารงานแบบ  TipCo

          การบริหารงานแบบ TipCo  เป็นนวัตกรรมการบริหารที่ผู้เขียนได้คิดขึ้นมาในปี พ.. 2539 และได้นำมาทดลองใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านเหมืองแร่  สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างปีการศึกษา 2539–2541  ในระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน  ทำให้โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ผู้บริหาร ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ได้รับรางวัลทั้งหมด   21  รางวัล 
                   ในวันที่  1 มกราคม 2542  ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนวัดพระเงิน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต  2 ได้นำการบริหารแบบ  TipCo  มาบริหารงานต่อที่โรงเรียน              วัดพระเงิน ในระหว่างปีการศึกษา 2542 2549  ในระยะเวลา 7 ปี  ด้วยความโดดเด่นของการบริหารงานแบบ  TipCo  ซึ่งเป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล จึงทำให้การบริหารงานในโรงเรียนวัดพระเงิน  ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โรงเรียน  ผู้บริหาร  ครูและนักเรียนโรงเรียน วัดพระเงินได้รับรางวัลทั้งหมด  205  รางวัล  จำแนกเป็นโรงเรียนได้รับรางวัล 31 รางวัล  ผู้บริหารได้รับรางวัล 10 รางวัล  ครูได้รับรางวัล 35 รางวัลและนักเรียนได้รับรางวัล 129 รางวัลและที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ความปลื้มปิติยินดีอย่างหาที่เปรียบมิได้ก็คือ โรงเรียนวัดพระเงินได้รับรางวัล  โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาประจำปีการศึกษา  2545  ซึ่งทำให้โรงเรียนวัดพระเงินมีชื่อเสียงในวงการศึกษามีผู้มาศึกษาดูงานทั้งหมด 102 คณะ นอกจากนั้นการบริหารงานแบบ TIPCo ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริหารงานดีเยี่ยม  อับดับ 1 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน       
           ในวันที่  1 มกราคม 2549  ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎร์นิยม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต และได้นำการบริหารงานแบบ TIPCo  มาบริหารงานต่อที่โรงเรียนราษฎร์นิยม  ในระหว่างปีการศึกษา   2549 2552  ในระยะเวลา 2  ปี โรงเรียน  ผู้บริหาร  ครูและนักเรียนโรงเรียนราษฎร์นิยม  ได้รับรางวัลทั้งหมด  67  รางวัล  จำแนกเป็นโรงเรียนได้รับรางวัล  5  รางวัล  ผู้บริหารได้รับรางวัล  2 รางวัล  ครูได้รับรางวัล  5  รางวัลและนักเรียนได้รับรางวัล 55 รางวัล 
ในวันที่  1 มกราคม 2552  ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่(นนทกิจพิศาล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต และได้นำการบริหารงานแบบ TIPCo  มาบริหารงานต่อที่โรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่(นนทกิจพิศาล) ในระยะเวลา  1  ปี  เดือน  โรงเรียน  ผู้บริหาร   ครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่(นนทกิจพิศาล) ได้รับรางวัลทั้งหมด  35  รางวัล  จำแนกเป็นโรงเรียนได้รับรางวัล  3  รางวัล  ผู้บริหารได้รับรางวัล  1  รางวัล  ครูได้รับรางวัล  3  รางวัลและนักเรียนได้รับรางวัล  28 รางวัล 
ในวันที่  9  มิถุนายน  2553 ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 และได้นำการบริหารงานแบบ TIPCo  มาบริหารงานต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี  ในระยะเวลา  2  ปี  เดือน  โรงเรียน  ผู้บริหาร   ครูและนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี  ได้รับรางวัลทั้งหมด 150  รางวัล จำแนกเป็นโรงเรียนได้รับรางวัล 2 รางวัล  ผู้บริหารได้รับรางวัล  2  รางวัล  ครูได้รับรางวัล  19  รางวัลและนักเรียนได้รับรางวัล 127 รางวัล 
2.3     การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับองค์กร  ชุมชน  เครือข่าย  (  5 คะแนน)
            การมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจเป็นความรู้สึกที่ดีที่มีต่อกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของกลุ่มและเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนจึงเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง  ชุมชนเข้ามามีบทบาทในรูปคณะกรรมการชุดต่าง ๆ  ของโรงเรียน  ดังนี้
                        1. การเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการบริหารและการจัดการศึกษา  โรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง  ชุมชนเข้ามามีบทบาทในรูปคณะกรรมการชุดต่าง ๆ  ของโรงเรียน  เพื่อโรงเรียนจะมีผู้ให้คำปรึกษา  ร่วมตัดสินใจ  ช่วยสอดส่องดูแลและวางแผนการพัฒนาโรงเรียน  มีกิจกรรมหลากหลายที่โรงเรียนสามารถจัดให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษาเช่น
                                1)    ร่วมกำหนดเป้าหมาย  นโยบาย
                                2)    การจัดทำธรรมนูญโรงเรียน  แผนการพัฒนาโรงเรียน  แผนปฏิบัติการประจำปี
                                3)    จัดหาทุนการศึกษา
                                4)    การพัฒนาบุคลากร
5)            พัฒนาอาคารสถานที่สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
                                6)    การจัดกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย
                                7)    การจัดตั้งผู้ประสานงานระหว่างโรงเรียนกับหมู่บ้าน
                                8)    การจัดโครงการเยี่ยมบ้าน
                                9)    การประชาสัมพันธ์
                        2.  การเข้ามามีส่วนร่วมด้านวิเคราะห์  ผู้ปกครอง  ชุมชน  สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบดังนี้
                                1) เป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บ้าน  ช่วยเหลือและกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ  เช่น  พัฒนาการด้านภาษา  การรักการอ่าน การปลูกฝังคุณธรรม  การแนะนำ
                                2) การเป็นวิทยากร  โรงเรียนควรจัดให้มีการสำรวจคนในชุมชน  เพื่อเก็บข้อมูลความพร้อมในการช่วยเหลือ  หรือเป็นคณะจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  เพื่อขยายเป็นขอบเขตหลักสูตรและเพิ่มความหน้าสนใจของการเรียนรู้
                                3) การเป็นผู้ช่วยครู  โรงเรียนควรเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ผู้ปกครอง    เข้ามาเยี่ยมเยือน  หลังสังเกตการณ์ในชั้นเรียนผู้ปกครองจะเข้าใจ  การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้นและเป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างครูกับผู้ปกครอง  โรงเรียนอาจจัดทำโครงการผู้ปกครองอาสาสมัครขึ้น  เพื่อช่วยเหลือครูในฐานะครูพิเศษช่วยสอนช่วยปฏิบัติงานและให้คำปรึกษาในด้านอื่น ๆ
                                4) การเป็นแหล่งการเรียนรู้  โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและ ชุมชนเพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ  ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมาก  มีสิ่งที่น่าศึกษาอย่างหลากหลาย  เป็นแหล่งวิทยาการที่โรงเรียน  ครูผู้สอนสามารถใช้ได้อย่างสะดวก  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ได้อย่างมากมายเช่น  ประวัติความเป็นมาของชุมชน วิถีชีวิตในชุมชน  ศิลปวัฒนธรรม  อาชีพ  แหล่งท่องเที่ยวฯลฯ  นอกจากนั้นในแต่ละชุมชนยังมีสถานประกอบการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการประกอบอาชีพต่าง ๆ  ตามความสนใจ
                                5) เป็นผู้ร่วมประเมินผล  โดยเชิญผู้ปกครอง  ชุมชน  ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานเช่น  ประเมินแผนงาน/โครงการ  ว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่อย่างใด  มีปัญหาอุปสรรคอะไรและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปีต่อไป  สรุปรายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนให้หน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชนทราบ  นอกจากนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  ซึ่งประเมินจากสภาพที่แท้จริง  (Authentic Assessment)  โรงเรียนควรให้โอกาสผู้ปกครองเป็นผู้ร่วมประเมินผลงาน  และตรวจสอบพัฒนาการความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วย

                        3. ด้านกิจกรรมอื่นๆ ในโรงเรียน ในแต่ละปีการศึกษาโรงเรียนจะมี  โครงการ/กิจกรรมเสริมหลักสูตรเกือบตลอดปี  โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม  โดยเชิญมาเป็นแขกหรือร่วมเป็นคณะกรรมการจัดงานในกิจกรรมต่างๆ  เช่น  กิจกรรมวันสำคัญ  การแข่งขันกีฬา  การจัดนิทรรศการแสดงผลงานฯลฯ   นอกจากให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนแล้ว  โรงเรียนควรนำคณะครูและผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ  ในชุมชนด้วยเช่นกัน  จนโรงเรียนได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาและเงินพัฒนาโรงเรียนดังนี้




             1)  ทุนการศึกษา                                            648,000    บาท
             2)  เงินพัฒนาโรงเรียน 
                  - เงินทอดผ้าป่า                                         1,635,226    บาท  
                  - เงินสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานอื่น         
                                   สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล         800,000    บาท
                                   วตท.                                       400,000   บาท
                                   อบจ. (ค่าจ้างครู-วงโยธวาธิต)       2,616,200    บาท
                                                        รวม               6,099,426   บาท

3. ผลการปฎิบัติงาน  ( 30 คะแนน ) 
                   3.1  ผลที่เกิดกับนักเรียน  ( 10 คะแนน )
                   จากการที่โรงเรียนได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน  ผู้ปกครองและชุมชน  โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  นำกระบวนการสอนที่หลากหลายมาพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ  เช่น  จัดการสอนแบบบูรณาการ  โครงงาน  จัดกิจกรรมกลุ่มและให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม  ดนตรี   ศิลปะ  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  จึงทำให้เกิดผลกับนักเรียนดังนี้
                      1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น  (ผลสอบ  O-Net )
                       2)  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย  จิตใจ  สังคมและสติปัญญาเป็นไปตามเป้าหมายกำหนด 
                                         3)  ผู้เรียนมีระเบียบวินัย  ซื่อสัตย์และมีสมาธิดี
                                         4)  สุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี  มีสุนทรียภาพทางศิลปะและนาฏศิลป์
                                         5)  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  สามารถสรุปประเด็นจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดีกล้าพูดกล้าแสดงออก  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี มีทักษะการทำงานร่วมกัน
                                         6)  นักเรียนมีความคิดริเริ่ม  สร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง  วิเคราะห์  สังเคราะห์ 
                                              และมีวิสัยทัศน์ 
                                         7)  นักเรียนมีความรู้และสามารถป้องกันตนเองให้ปลอดจากสารเสพติดได้
                                        8)  นักเรียนตั้งใจศึกษาอย่างจริงจังจนได้รับรางวัลความเป็นเลิศในด้านต่างๆ                  จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการทั้งหมด  127  รางวัล
3.2  ผลที่เกิดกับครู ( 10 คะแนน )
                          คนเป็นปัจจัยชี้ขาดในระบบการศึกษา เพราะคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จัดกระทำกับทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรการจัดการ  คนที่มีคุณภาพเท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความเจริญและพัฒนาสังคมได้  เครื่องมือในการพัฒนาคนที่ดีที่สุดก็คือการศึกษาอบรม  ดังนั้นในการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน   จึงใช้กระบวนการนิเทศภายในแบบร่วมใจ  จนทำให้ครูได้รับการพัฒนาดังนี้
                     1)  ส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพครู  ครูได้รีบการเลื่อนวิทยฐานะ  จำนวน  7  คน 
              2)  ครูได้รับรางวัลดีเด่น        จำนวน    19     คน

3.3  ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
              1) ผลการประเมิน  สมศ.  ในระดับดีมาก
               2) ผลการประเมินคุณภาพภายใน   ระดับดีมาก
 3) ต้นแบบโรงเรียนในฝัน  โรงเรียนดีประจำอำเภอ
 4) สถานศึกษาพอเพียงแบบอย่าง  พ.ศ. 2552
      5) โรงเรียนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น

4. ประสบการณ์  ( 10 คะแนน ) 
           4.1  ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร  ( คะแนน ) 
เริ่มดำรงตำแหน่ง  อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านเหมืองแร่  อำเภอทับสะแก   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่   16   พฤษภาคม    2539     รวมเวลาการเป็นผู้บริหารสถานศึกษา    13   ปี   8   เดือน
            4.2 ประเภทโรงเรียนที่เคยบริหารในโครงการต่างๆ  ( คะแนน )
                      (1) โรงเรียนรางวัลพระราชทาน 2 โรงเรียน(โรงเรียนวัดพระเงิน(อิศราวิทย์อุปกรณ์)และ    โรงเรียน
                             เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี
            (2) โรงเรียนในฝัน (โรงเรียน  คือ โรงเรียนราชวินิต  นนทบุรีและ           
    โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี )  
(3)  สถานศึกษาพอเพียงแบบอย่าง (3  โรงเรียนคือ โรงเรียนราษฎร์นิยม โรงเรียนราชวินิต
    นนทบุรีและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี )
(4) โรงเรียนโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น
(5) โรงเรียนมาตรฐานสากล
                      (6) โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
    (7)  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญทอง
    (8) โรงเรียนโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น
    (9) โรงเรียนโครงการอนุรักษ์พลังงาน

5. คุณวุฒิ ( 5 คะแนน ) 
       วุฒิการศึกษาสูงสุด  ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  (ปริญญาเอก) การบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

6. การรักษาวินัยและจรรยาบรรณ   ( 10 คะแนน ) 
1)  การไม่ถูกดำเนินการทางวินัย   (5 คะแนน)
ได้บริหารงานในหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนธรรมเนียมประเพณีของทางราชการ  ได้ศึกษาระเบียบแบบแผนของทางราชการจนเกิดความรู้  ความเข้าใจเป็นอย่างดี  สามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องจนเกิดเป็นกิจนิสัย  เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลอื่น   และปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจจนสุดความสามารถ  ทุ่มเทความรู้  ความคิด  ประสบการณ์  และเวลาให้อย่างเต็มที่จนงานสำเร็จลุล่วง
2) การยอมรับหรือไม่ยอมรับของชุมชน (5 คะแนน)
                เป็นผู้ที่เอาใจใส่ต่องานในหน้าที่อยู่เสมอ  ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ  มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ปฏิบัติงานโดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาผสมผสานในการทำกิจกรรมอยู่เสมอเช่น  นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานและการเรียนการสอน   กระตุ้นให้ครู  อาจารย์ ใช้โปรแกรม  CAI  ในการผลิตสื่อและให้ครูมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดหลากหลายรูปแบบในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ได้ทางเลือกและแนวคิดที่แปลกใหม่  ทันสมัย  ทันเหตุการณ์  และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน  จนผลการดำเนินงานของโรงเรียนประสบผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  จนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา  ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการ  คณะทำงานและวิทยากรในโอกาสต่างๆ

7. ความอาวุโสตามหลักราชการ  ( 10 คะแนน ) 
         1) วิทยฐานะ ( 5 คะแนน )
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะเชี่ยวชาญ  อันดับ  คศ. 4 ขั้น ......... บาท
         2)  อายุราชการ ( 5 คะแนน )
 เริ่มรับราชการ เมื่อวันที่   2    เดือน   มิถุนายน     พ.ศ.  2520  ตำแหน่ง   ครู  1   สังกัด  หมวดการศึกษาส่วนอำเภอเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
      รวมอายุราชการ    35    ปี  เดือน  13   วัน  (นับถึงวันที่   15  สิงหาคม   2555)
8. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานในสถานศึกษาปัจจุบัน( 5 คะแนน ) 
                รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งระยะเวลาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร   16  ปี  เดือน  13  วัน 
            ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งสถานศึกษาปัจจุบัน  ปี  เดือน  วัน



                                                                             (ดร.เฉลียว     ยาจันทร์)